การกินอะไรให้เหมาะในแต่ละช่วงของอายุการตั้งครรภ์

การเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์นั้นสำคัญต่อคนเราเป็นอย่างมากและยิ่งหากคนคนนั้นอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์ยิ่งจำเป็นอย่างมากที่ควรจะเลือกอาหารการกินโดนควรเน้นกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งต่อตัวเองและต่อลูกน้อยในครรภ์ซึ่งในช่วงแต่ละอายุครรภ์การเลือกกินอาหารก็จะแตกต่างกันออกไปเนื่องจากคุณแม่ที่ ตั้งท้องมักจะมีอาการแตกต่างกันออกไปในแต่ละเดือนและในตัวเด็กเองที่อยู่ในท้องของคุณแม่ก็จะมีพัฒนาการในแต่ละเดือนขึ้นเรื่อยเรื่อยไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกายและสมอง

ดังนั้นในช่วงอายุของเดือนในแต่ละเดือนสารอาหารที่จะได้จากผักเนื้อสัตว์ผลไม้ต่างๆควรจะมีความแตกต่างและหลากหลายเพื่อให้ในแต่ละช่วงของการพัฒนาร่างกายของลูกน้อยตอนที่อยู่ในท้องได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนถูกต้องตามแต่ละช่วงวัยของตัวเองที่กำลังพัฒนาร่างกายให้สมบูรณ์ขึ้นมาดังนั้นเราจะมาดูกันว่าช่วงเวลาอายุครรภ์เท่าไหร่เหมาะกับการกินอะไรเพื่อที่คุณแม่จะได้นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ในการตัดสินใจในการเลือกกินอาหารในแต่ละช่วงอายุครรภ์เพื่อลูกน้อยของตัวเอง

1 ช่วงแรกจะเป็นช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่หนึ่งเดือนถึงสามเดือนแรกซึ่งช่วงนี้เรียกได้ว่าเป็นช่วงที่คุณแม่มักจะมีอาการอ่อนเพลียไม่ค่อยมีแรงดังนั้นช่วงเดือนนี้คุณแม่จึงจำเป็นต้องการสารอาหารที่ให้พลังงานมากเป็นพิเศษโดยเราควรจะเน้นทานอาหารที่เป็นประเภทผักเพราะจะสามารถช่วยในเรื่องของการย่อยง่ายทำให้คุณแม่ไม่ท้องผูก และยังกินข้าวเพื่อให้พลังงานกับร่างกายของคุณแม่แต่ในช่วงเดือนนี้คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะมีอาการแพ้ท้องและมักจะคืนไส้เวียนหัวดังนั้นในช่วงเดือนนี้จึงควรทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวมาเป็นตัวช่วยเช่นอาจจะดื่มน้ำแตงโมน้ำส้มคั้นน้ำแอปเปิลซึ่งน้ำเหล่านี้จะมีรสเปรี้ยวนิดนิดจะช่วยในเรื่องของการคลื่นไส้เวียนหัวได้ดีขึ้น

2 ในช่วงระยะที่สองเป็นช่วงตั้งแต่ช่วงสามเดือนจนถึงช่วงหกเดือนซึ่งช่วงนี้ลูกน้อยในครรภ์กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาร่างกายและสมองดังนั้นคุณแม่ควรจะทานอาหารที่มีประโยชน์และส่งถึงลูกน้อยโดยตรงดังนั้นช่วงนี้จึงเป็นช่วงที่ต้องเน้นทานอาหารทุกประเภทเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วนไปถึงลูกเช่นกินปลาเพื่อให้มีโอเมกา 3 ไปบำรุงสมอง

เพื่อให้ลูกน้อยฉลาดและแข็งแรงทานผักผลไม้ให้เยอะขึ้นเพราะจะให้วิตามินสูงทั้งวิตามินเอ , บี, ซีและดีและช่วงนี้จะเป็นช่วงที่คุณแม่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบท้องอืดท้องเฟ้อดังนั้นการดื่มน้ำสมุนไพรที่ช่วยระบายท้องจะช่วยให้คุณแม่ลดปัญหาอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้มากเช่นการดื่มน้ำตะไคร้หรือน้ำขิงเป็นตัวช่วย

3 ช่วงที่สามคือช่วงหกถึงเก้าเดือนเป็นช่วงที่ใกล้คลอดแล้วดังนั้นควรจะกินอาหารที่เป็นการเสริมเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเลือดแดงเช่นตับผักโขม บร็อกเคอร์รี่ และสารอาหารอื่นๆก็ยังควรกินเข้าไปให้ครบถ้วนเพื่อที่คุณแม่จะได้คลอดน้องง่ายง่าย  

 

สนับสนุนเรื่องโดย  ชุดตรวจ hiv

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการลดคอลเรสเตอรอล

ผลการศึกษาเกี่ยวกับการลดคอลเรสเตอรอล
การเรียนฉบับใหม่กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวคำเสนอแนะด้านของสุขภาพบางทีอาจนำมาซึ่งการลดระดับคอเลสเตอรอลแล้วช่วยทำให้คนที่มีการเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจได้รับการดูแลและรักษาที่ดีเพิ่มขึ้น

โรคหัวใจเป็นต้นเหตุของการตายอันดับแรกๆ ของโลก รวมทั้งคอเลสเตอรอลในระดับที่สูงเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงสำคัญของโรคนี้ โดยก่อนหน้านี้ที่ผ่านมา หมอให้การรักษาคนไข้โดยมองที่ระดับคอเลสเตอรอลตัวร้าย หรือที่เรียกว่า LDL

ในปีพุทธศักราช 2556 วิถีทางปฏิบัติใหม่ในสหรัฐอเมริกา แนะให้หมอตรวจตราการเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจโดยรวม หรือกล่าวคือ หนทางปฏิบัตินี้ชี้แนะให้หมอพิเคราะห์อายุ ความดันเลือด ลักษณะของโรคโรคเบาหวาน แล้วก็เหตุอื่นๆของคนไข้

แนวความคิดของวิถีทางปฏิบัตินี้ก็คือ คนที่มีการเสี่ยงสูงสุดจะได้รับคุณประโยชน์มากที่สุดจากยาลดคอเลสเตอรอล “สเตติน”

นักค้นคว้าได้เรียนรู้ข้อมูลที่ได้มาจากศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ข้อมูลดังที่ได้กล่าวมาแล้วนี้ส่งผลในการประเมินระดับคอเลสเตอรอลจากคนสูงอายุมากยิ่งกว่า 32,000 คน ในตอนระหว่างปีพุทธศักราช 2548 ถึงพุทธศักราช 2559

ในกลุ่มของผู้คนที่ทานยาสเตติน ระดับคอเลสเตอรอลตัวร้ายโดยเฉลี่ยต่ำลง 21 จุดตลอดเวลาที่ทำการศึกษา ยิ่งไปกว่านี้ระดับคอเลสเตอรอลโดยรวมรวมทั้งไขมันประเภทอื่นๆในเลือดก็ต่ำลงด้วยเหมือนกัน

แพทย์ Michael Miller เป็นผู้ชำนาญด้านโรคหัวใจที่ศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์ ซึ่งมิได้มีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าวิจัยนี้ บอกว่า ผลดังที่กล่าวถึงแล้วนั้นดีเยี่ยมกระทั่งน่าแปลกใจ โดยรวมกันแล้วคาดว่าความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและอาการเส้นโลหิตตันในสมองจะน้อยลง 15% ถึง 20%

นอกนั้นอัตราการใช้ยา “สเตติน” ของคนที่เป็นโรคเบาหวานยังมีเยอะขึ้น

หมอ Neil J. Stone จากมหาวิทยาลัยนอร์ธเวสเทิร์น ซึ่งเป็นหัวหน้าในการพัฒนาวิถีทางปฏิบัติปี พุทธศักราช 2556 จากชมรม American College of Cardiology แล้วก็ American Heart Association พูดว่า การคุ้มครองป้องกันไม่ให้คนที่ได้รับการวิเคราะห์ว่าเป็นโรคเบาหวานมีลักษณะหัวใจวายเป็นครั้งแรกนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

แพทย์ Pankaj Arora จากมหาวิทยาลัยเมืองแอละบามา วิทยาเขตเบอร์มิงแฮม หัวหน้าการศึกษาเรียนรู้และค้นคว้าและทำการวิจัยนี้ บอกว่า ยังควรจะมีการศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมอีกในเรื่องดังที่กล่าวผ่านมาแล้ว

ด้านหมอ Arora จากมหาวิทยาลัยแอละบามา เตือนว่า ยังไม่พบว่ามีการรักษามากขึ้นในกลุ่มที่มีการเสี่ยงสูงกว่ากรุ๊ปอื่นๆ แล้วก็ว่ายังมีอีกหลายๆคนที่ไม่รู้จักว่าตนเองมีปัญหาในเรื่องระดับคอเลสเตอรอล ซึ่งข้อเสนอสำหรับคนไข้พวกนี้ก็คือ ควรจะไปวัดระดับคอเลสเตอรอลถ้ายังมิได้วัดในตอนนี้

ทำยังไงถ้าแมลงเข้าหู

สำหรับในเด็กเล็กๆเราอาจจะต้องระมัดระวังเรื่องการที่เด็กนำอาหารเข้าปาก เข้าหู ระวังเรื่องการเอานิ้วจิ้มตา

เพราะเด็กยังทำอะไรโดยไม่รู้เรื่องรู้ราว หรือบางครั้งแม้แต่ตัวเราซึ่งเป็นผู้ใหญ่เอง นอนเล่นอยู่บนพื้นบ้านหรือที่นอนอยู่ดีๆอาจมีแมลงไต่เข้าหูหรือมีแมลงบินเข้าหูก็ได้ โดยมดหรือแมลงที่เข้าไปในรูหูอาจจะมีการกัดข้างในหูทำให้ภายในหูได้รับบาดเจ็บได้หรือหากว่าแมลงหรือมดออกมาไม่ได้ซากของแมลงหรือมดอาจเน่าเปื่อยอยู่ในหู ทำให้หูสกปรกแล้วติดเชื้อขึ้นมาได้

         เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามีแมลงหรือมดเข้าไปในรูหู สำหรับคำถามนี้นั้น คำตอบคือเราจะรู้ด้วยตัวของเราเองเมื่อมีสิ่งแปลกปลอม อย่างแมลงหรือมดเข้าไปในรูหู เพราะอย่างแรก เราจะรู้สึกเหมือนมีอะไรไต่อยู่ข้างในรูหู บางครั้งมีอาการคันรูหู หรือรู้สึกเจ็บข้างในรูหู หรือในบางครั้งเราจะรู้สึกว่ามีเสียงดังหวี่ๆเหมือนมีอะไรร้องอยู่ในหู และหากเรารู้สึกเจ็บปวดมากๆ

ควรรีบไปพบแพทย์ให้รักษาด้วยการนำสิ่งแปลกปลอมนั้นออกจากหูโดยเร็วเพื่อป้องกันการเกิดหูอักเสบหรือการติดเชื้อ

สำหรับการตรวจสอบของแพทย์ว่ามีอะไรอยู่ในหูของคนไข้หรือไม่นั้น ทำได้ด้วยการ ส่องไฟฉายเข้าไปดูในรูหู หรือหากมองเห็นไม่ค่อยชัดทางแพทย์จะมีเครื่องมือเฉพาะสำหรับส่องเข้าไปในรูหูเพื่อหาสาเหตุว่า อาการปวดหูเกิดมาจากอะไร สำหรับผู้ใหญ่อย่างเราจะรู้ได้ทันที่หากมีอะไรเข้าหูแต่หากเด็กที่ยังไม่รู้เรื่องหรือยังไม่สามารถสื่อสารกับเราได้

เราเองคงต้องคอยสังเกตอาการของเด็กให้ดีเช่น หูของเด็กมีอาการบวมแดง มีน้ำหนองไหล หรือมีเลือดไหลออกมาจากหูหรือไม่ หรือเข้ามีอาการงอแงแล้วเอามือจับที่หูหรือไม่ หากมีอาการดังกล่าวต้องรีบพามาพบแพทย์ทันที  หากเราพบว่ามีแมลงเข้าหูสิ่งที่ควรทำคือการไปพบแพทย์เพื่อให้แพทย์เป็นผู้นำแมลงออกจากหูให้เพราะเราไม่อาจมั่นใจได้ว่าหากเรานำแมลงออกมาเองชิ้นส่วนของแมลงจะออกหมดหรือไม่ เราไม่ควรหาอะไรแหย่เข้าไปในหูเพราะแมลงอาจจะหนีเข้าไปลึกขึ้นกว่าเดิมจะทำให้แพทย์เอาออกยากขึ้น

หากอยากทดลองนำแมลงออกจากหูด้วยตัวเองก่อนให้นอนตะแคงเอาหูด้านที่มีแมลงอยู่ข้างในขึ้น แล้วลองเอาไฟฉายส่องเพราะแมลงมักชอบแสงไฟ มันจะเดินออกมาตามแสงไฟเอง แต่หากไม่ออกมาแนะนำไปพบแพทย์ดีที่สุด เพื่อป้องกันการใช้ เครื่องช่วยฟัง ในอนาคต

ยาปฏิชีวนะ และโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

ยาปฏิชีวนะ เป็นยาที่ควรควบคุมการใช้อย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นยาที่ต้องใช้อย่างถูกวิธีอย่างเคร่งครัด และต้องใช้ให้ถูกกับโรค จำไว้ว่ายาปฏิชีวนะใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย แต่ไม่สามารถรักษาหรือไม่ออกฤทธิ์ในโรคติดเชื้อไวรัส เพราะฉะนั้นต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน ในการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การดื้อยา จากการที่ครั้งก่อนป่วยใช้ยาได้สักพักรู้สึกดีขึ้น คิดว่าหายแล้วไม่ทานต่อตามที่แพทย์จ่ายยามาให้ เชื้อแบคทีเรียก็ยังคงหลงเหลืออยู่ในร่างกายจนพัฒนาใหม่ได้ และหากป่วยด้วยเชื้อเดิมอีก คราวนี้อาจจะรักษาไม่หาย เพราะเชื้อพัฒนาสู้กับยาได้ ทำให้ต้องเปลี่ยนยาตัวใหม่ไปเรื่อยๆ

3 โรครักษาได้ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ไม่ใช่ว่าอาการป่วยทุกอย่างบนโรคใบนี้ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะอาการบางอย่างก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

1. โรคหวัด ไอ เจ็บคอ

2. โรคท้องร่วง ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ

3. บาดแผลทั่วไป
อาการเหล่านี้ สามารถหายเองได้ตามอาการที่ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป 3-4 วัน แต่หากพบว่า 1 สัปดาห์แล้วไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจอย่างละเอียด ไม่ควรซื้อยาตามร้านขายยามากินเอง

ข้อควรระวังในการกินยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะบางชนิดต้องกินให้ครบตามจำนวนที่แพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเองแม้ว่าจะรู้สึกว่าอาการหายดีแล้ว เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียให้หมดไม่ให้หลงเหลืออยู่ในร่างกาย จนพัมนาสายพันธุ์ของเชื้อได้ แต่หากโรค หรืออาการที่เป็นอยู่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรกินยาปฏิชีวนะ เพราะว่ายาปฏิชีวนะไม่ออกฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส หรือหากกินไปแล้ว ก็ควรหยุดยาทันที หากไม่แน่ใจว่าโรค หรืออาการที่เป็นอยู่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้ละเอียดก่อนกินยา

โรคเบาหวานกับความเข้าใจผิดๆ

คนไทยส่วนใหญ่ มักจะป่วยเป็น “เบาหวาน” โรคใกล้ตัวคนไทย เพราะโรคเบาหวานสามารถส่งต่อได้ทางกรรมพันธุ์และด้วยในยุคปัจจุบันอะไรๆ มันก็ดูน่าทานไปหมด พฤติกรรมการกินการดื่มจึงเป็นอีกสาเหตุของเบาหวาน เพราะโรคเบาหวานเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ญาติของคุณ คนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งเพื่อน อาจจะป่วยเป็นโรคนี้อยู่ ดังนั้นพวกเขาจึงพยายามรักษาซึ่งพึ่งทั้งทางการแพทย์และอาจศึกษาเอง ซึ่งอาจจะมีเรื่องที่เข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับเบาหวานเกิดขึ้นได้ มาเช็กกันเถอะว่า 5 ข้อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคเบาหวาน มีเรื่องที่เรารู้มากันบ้างหรือไม่?

1.โรคเบาหวานมีสาเหตุมาจากการทานหวานจริงหรือ?
โรคเบาหวานมีสาเหตุ 2 แบบ คือ ส่งต่อมาจากพันธุกรรม และพฤติกรรมการกิน ดังนั้นที่เราชอบทานอาหารที่มีปริมาณหรือส่วนประกอบที่เป็นน้ำตาลสูงมาติดต่อกันเป็นเวลานานก็สามารถก่อให้เกิดโรคเบาหวานได้ เพราะร่างกายไม่สามารถผลิตอินซูลินออกมาเพียงพอ นอกจากนี้อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมีผลต่อการออกฤทธิ์ของอินซูลิน ทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่ดีก็ควรหลีกเลี่ยง

2.เบาหวานเป็นโรคของคนแก่จริงหรือ?
ความจริงแล้วนั้น…..เบาหวานสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย นั่นคือ ทุกคน อย่างที่บอกไปว่าพฤติกรรมการบริโภคมีส่วนส่งเสริมให้เกิดโรคเบาหวาน เบาหวานที่เกิดจากกรรมพันธุ์ส่วนใหญ่มักเกิดในเด็ก หรือคนอายุน้อย ส่วนเบาหวานที่เกิดจากพฤติกรรม มักเกิดในคนอายุ 45 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันเริ่มพบคนเป็นเบาหวานที่เกิดจากพฤติกรรม มีอายุน้อยลงแล้ว

3.คนที่เป็นเบาหวานจะรู้ตัวเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำจริงหรือ?
คำตอบคือ…..ไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้ตัวว่าภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ อาการเมื่อมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ คือวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ตัวเย็น เหงื่อออก อาการใจสั่น หัวใจเต้นแรง ปากแห้ง ซึ่งอย่างที่บอกแต่แรกว่าอาการเหล่านี้ก็ไม่ได้เกิดกับทุกคน เพราะอาการแต่ละคนอาจแตกต่างกัน จึงควรมีเครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดเมื่อมีอาการหรือสงสัยว่ามีน้ำตาลในเลือดต่ำ และรีบแก้ไขทันที เพราะภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มีผลให้เกิดภาวะช็อค หรือเสียชีวิตได้

4.เบาหวานเป็นโรคไม่น่ากลัว ใคร ๆ ก็เป็นจริงหรือ?
คำตอบคือ……ไปเอามาจากไหนนะ เรื่องนี้ไม่จริงเลยนะ เพราะโรคเบาหวานสามารถทำให้เสียได้เลย หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและดูแลให้ดี สถิติของการเสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานของคนไทยนั้นมากถึง 20,000 คนต่อปี เบาหวานนอกจากจะเป็นโรคที่อันตรายมากๆแล้ว ยังมีสามารถเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และพบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจจะเป็นเบาหวานร่วมด้วยมีความเสี่ยงหัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันมากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นเบาหวานร่วมด้วยเกือบสองเท่า ที่สำคัญหากควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ เช่นตาบอด ผิวหนังอักเสบติดเชื้อ เซลล์ประสาทถูกทำลาย น่ากลัวขนาดนี้ต้องอยู่ใกล้มือแพทย์ไว้นะ

5.เบาหวานเป็นโรคของคนอ้วนจริงหรือ ?
ไม่จริง!.. ไม่ว่าจะอ้วนผอม รูปร่างแบบไหน ก็สามารถเป็นเบาหวานได้หมด เพราะเบาหวานสามารถส่งต่อทางกรรมพันธุ์และเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคได้ ไม่ว่าจะเป็นอาหารแคลอรี่สูง น้ำตาลสูง และคุณมีความเครียดสูงอยู่แล้ว รวมถึงไม่ชอบออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอหากมีพฤติกรรมเหล่านี้ก็เป็นเบาหวานได้! แต่ที่ทุกคนมีความเข้าใจว่าเบาหวานจะเกิดขึ้นเฉพาะกับคนอ้วนเท่านั้น เพราะมีงานวิจัยบอกว่าโรคเบาหวานจะพบในคนอ้วนมากกว่า เพราะพฤติกรรมการกินนั่นเอง

รู้เรื่องไขมันพอกตับดีมากแค่ไหน

ปวดท้องบริเวณด้านขวาหรือชายโครงขวา อันตรายถามหา เกี่ยวกับตับ

อาการปวดตับ อาจะเกิดจากการทำงานของตับผิดปกติหรือเจริญเติบโตผิดปกติจนกลายเป็นเนื้องอก ดันผิวตับให้มีลักษณะโป่งนูนขึ้น โดยผู้ป่วยเหล่านี้อาจมีโรคตับอักเสบแอบแฝงอยู่ โดยอาการจะไม่แสดงออกหรือแสดงออกเพียงเล็กน้อย บางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เตือนเลย แต่พอมาตรวจอีกที ก็รู้ว่าตนเองมีอาการตับอักเสบ หรืออาจจะเป็นอย่างอื่นอาทิเช่น ไขมันพอกตับ

ตับเป็นอวัยวะภายในที่อยู่ในช่องท้องของเราและมีขนาดใหญ่สุด ซ่อนตัวอยู่หลังกระดูกซี่โครงชิดติดกับกระบังลม โดยตับนั้นมีขนาดใหญ่เป็นอันดับสองรองจากผิวหนัง ซึ่งทำให้ตับมีความจำเป็นต่อร่างกายอย่างมาก

ปวดชายโครงขวา ปวดท้องขวา นั้นอาจเกิดได้กับบุคคลทุกวัยสาเหตุที่เกิดอาจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งกรรมพันธุ์ การรับประทานอาหาร ได้รับสารพิษ หรือติดเชื้อภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่น ๆ

อาการของโรคตับนั้นอาจส่งสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติได้ดังนี้

–  ดีซ่าน คือ ภาวการณ์คั่งของเม็ดสีน้ำดีที่สร้างมาจากตับ จะทำให้ตัวเหลือ ตาเหลืองปัสสาวะมีสีเข้ม นั่นแปลว่าน้ำดีในร่างกายมากเกินไป การทำงานสมรรถภาพของตับจึงเริ่มถดถอย

–   อ่อนเพลียเรื้อรัง หมดแรงงาน อาจเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ควรได้รับการตรวจ และรักษาอย่างถูกวิธี เพราะจะทำให้ตับผลิตสารอาหาร และพลังงานที่จำเป็นต่อร่างกายลดน้อยลง

–   เบื่ออาหาร น้ำหนักลด สัญญาณบ่งชี้ได้ว่า สมรรถภาพการทำงานของตับลดงลง ทำให้ร่างกายต้องดึงสารพลังงานสำรองออกมาใช้ ทำให้ร่างกายผอม น้ำหนักตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด

อาจจะเกิดได้จากสาเหตุใหญ่ๆ 2 ประกาน

  1. กิจกรรมในทุก ๆ วัน/ พฤติกรรมการใช้ชีวิต
  2. การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสภายในร่างกาย โดยตับอักเสบที่มีสาเหตุจากไวรัส มักปรากฏอาการแบบเฉียบพลัน ไม่ทันได้ตั้งตัวหรือมีอาการใด ๆแสดงออกมาก่อน อาจะส่งผลให้ตับวายเฉียบพลัน

บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ทานแล้วเสี่ยงทำลายสุขภาพ

ใกล้ปลายเดือนทีไร พนักงานกินเงินเดือนระดับล่างมักจะเปลี่ยนเมนูจากบุฟเฟต์เป็นเมนูง่ายๆ อย่าง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่มีทั้งทานเพื่อความอร่อย และทานเพื่อความอยู่รอด แต่สำหรับเด็กๆ ทั้งเด็กเล็ก และวัยรุ่น อาจจะทานเพราะเป็นเมนูที่มีราคาไม่แพง ทำทานเองได้ง่าย และเครื่องปรุงรสอร่อยถูกปาก จนอาจจะเลือกทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากกว่ามื้อข้าวปกติ และอาจเผลอทานมากเกินไปโดยไม่รู้ตัวได้

แม้ว่าส่วนประกอบต่างๆ ในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจะไม่มีอะไรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่การทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเกินไป กลับก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายมากกว่าที่คิด

อันตรายจากการทาน “บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป” มากเกินไป

  • ได้รับโซเดียมมากเกินไป
    เครื่องปรุงรสของบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอุดมไปด้วยเกลือ โซเดียม และอาจเป็นเครื่องปรุงรสอื่นๆ ที่อบแห้งมาในลักษณะผง รวมไปถึงการปรุงรสของเส้นบะหมี่ที่มีรสเค็ม และมีโซเดียมอีกเช่นกัน ดังนั้นบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงเป็นอาหารที่มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับปริมาณอาหารต่อ 1 หน่วย คนไทยควรบริโภคโซเดียมไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน แค่บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็มีโซเดียมราวๆ 1,600 มิลลิกรัมเข้าไปแล้ว ดังนั้นหากวันนั้นทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเข้าไปด้วย มีความเป็นไปได้สูงว่าคุณอาจกำลังบริโภคโซเดียมในวันนั้นมากเกินกว่าปกติ
  • เสี่ยงโรคอันตรายมากมาย
    พอพูดถึงเรื่องโซเดียม หลายคนน่าจะนึกออกแค่ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคไต หรือทานแล้วอาจจะเสี่ยงแค่อาการหน้าบวม ร่างกายบวมจากโซเดียมได้ แต่อันที่จริงๆ หากทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมากเกินไป ยังเสี่ยงโรคอันตรายอย่างโรคความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้อีกด้วย เพราะนอกจากโซเดียมแล้ว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปยังมีไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกาย อย่างน้ำมันที่ใช้ทอดเส้นบะหมี่ และน้ำมันในซองเครื่องปรุง ที่มีคุณสมบัติแตกตัวเป็นกรดไขมันชนิดทรานส์ ที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการกระตุ้นให้เกิดโรคหัวใจได้ ถึงขั้นที่นักโภชนาการแนะนำผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ผู้ที่ต้องกินยาขับปัสสาวะ และยารักษาอาการซึมเศร้าบางชนิดไม่ควรรับประทานบะหมี่สำเร็จรูปโดยเด็ดขาด เพราะมีโซเดียมกับผงชูรสสูง เป็นการเพิ่มอันตรายให้กับโรคต่างๆ ที่เป็นอยู่ได้
  • ขาดสารอาหาร
    นอกจากโรคอันตรายทั้งหลายแล้ว จะเห็นได้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปมีส่วนประกอบของอาหารไม่กี่ชนิด ราว 60-70% เป็นแป้งสาลี และอีก 15-20% เป็นไขมันในเครื่องปรุง และการทอดเส้นบะหมี่ ส่วนผักแห้งผักโรยในซองเครื่องปรุงก็แทบจะไม่เหลือสารอาหารอะไรให้กับผู้บริโภคสักเท่าไร จึงสามารถจัดได้ว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเป็นอาหารที่ด้อยคุณค่าทางสารอาหาร ดังนั้นหากทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปโดยไม่เติมผัก หรือเนื้อสัตว์ลงไปด้วยเป็นระยะเวลานาน อาจมีความเสี่ยงต่อภาวะขาดสารอาหารได้ โดยเฉพาะกับเด็กเล็กที่ไม่ค่อยเลือกทานอาหารที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนอยู่แล้วด้วย อาจเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะขาดสารอาหารได้มากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพโดยรวม และพัฒนาทางการต่างๆ ของร่างกาย และสมองของเด็กได้อีกด้วย
  • ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย
    อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย อาจดูเป็นเรื่องเล็กน้อยเมื่อเทียบกันอันตรายข้ออื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่อาจเกิดขึ้นได้เมื่อทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบดิบ หรือไม่ได้ต้มให้เส้นสุกก่อนรับประทาน หากทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปในลักษณะนี้มากเกินไปอาจเกิดอาการจุกเสียดแน่นท้อง บางคนอาจเกิดอาการอาหารไม่ย่อย และคลื่นไส้อาเจียนได้เช่นกัน ดังนั้นเพื่อการบริโภคที่ถูกต้อง ควรเลือกทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปแบบต้มเส้นให้สุกก่อนบริโภคจะดีกว่า

หากอยากทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปอย่างปลอดภัย ไม่ทำร้ายร่างกายตัวเอง แนะนำว่าให้เลือกทานเฉพาะแบบต้มเส้นให้สุก ใส่เครื่องปรุงให้น้อยลง (ไม่จำเป็นต้องใส่ให้หมดทั้งซอง) เทน้ำที่ต้มเส้นทิ้งไปบ้างบางส่วน ทุกครั้งที่ทานให้ใส่ผัก เนื้อสัตว์ ไข่ และส่วนประกอบอื่นๆ เพื่อให้ได้สารอาหารที่มากขึ้น และไม่ควรบริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกินวันละ 1 ซอง/ถ้วย และไม่เกิน 2 ซอง/ถ้วยใน 1 สัปดาห์

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิตของเพศหญิง

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)
พบมากกว่าร้อยละ 70 ของโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ พบบ่อยในเพศหญิงในช่วงวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์ สาเหตุ ที่โรคนี้พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่ายกว่าผู้ชาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ผู้หญิงที่เกิดโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะร้อยละ 70 จะกลับเป็นซ้ำอีกภายใน 6 เดือน ผู้หญิงแทบทุกคนมีโอกาสเป็นโรคนี้ ตั้งแต่ วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ พบมากในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนานๆ ผู้ชายมีโอกาสเป็นโรคนี้น้อย ถ้าพบมักมีความผิดปกติอย่างอื่นร่วมด้วย เช่น ต่อมลูกหมากโตหรือมีก้อนเนื้องอกในกระเพาะปัสสาวะ หรือมีความผิดปกติทางโครงสร้างของทางเดินปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังอาจพบเป็นโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต หรือพบภายหลังการสวนปัสสาวะ ส่วนใหญ่โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบเกิดจากการกลั้นปัสสาวะมากไป รับประทานน้ำไม่พอเพียง การกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน เป็น ปัจจัยส่งเสริมให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบที่สำคัญที่สุด ในผู้ป่วยบางรายอาจพบว่าเป็นบ่อยๆ เนื่องจากมีความผิดปกติทางกายวิภาคของของกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ หรืออาจพบว่าเป็นโรคนิ่วร่วมด้วยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ พบ ว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้บ่อยภายหลังจากการมีเพศสัมพันธ์โดย เฉพาะในช่วงระยะหลังการแต่งงานใหม่ๆ อาจเกิดการฟกช้ำจากการร่วมเพศ แล้วทำให้มีอาการอักเสบของท่อปัสสาวะ เชื้อแบคทีเรียหลุดเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ง่าย เกิดการอักเสบติดเชื้อของกระเพาะปัสสาวะขึ้น เรียกภาวะดังกล่าวว่า Honeymoon Cystitisอาการปัสสาวะบ่อย แสบ ขัด ครั้งละไม่มาก รู้สึกถ่ายไม่สุด กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ เจ็บมากตอนปลายของปัสสาวะ บางรายมีเลือดออกมาด้วย ผู้ ป่วยอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีมักจะใส แต่บางคนอาจขุ่นหรือมีเลือดปน อาการอาจเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะนานๆ หรือหลังมีเพศสัมพันธุ์ ในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน การตรวจร่างกายมักจะตรวจไม่พบสิ่งผิดปกติชัดเจน บางคนอาจพบการกดเจ็บเล็กน้อยตรงบริเวณกลางท้องน้อย การวินิจฉัยโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบสามารถให้การวินิจฉัยได้จากอาการทางปัสสาวะดังกล่าวข้างต้น ร่วมกับการตรวจปัสสาวะพบเม็ดเลือดขาวและแบคทีเรีย

  1. เม็ดเลือดขาวที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 5-10 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง โดยเป็นการตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น
  2. แบคทีเรียที่ตรวจพบในปัสสาวะมากกว่า 1 ตัว เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์โดยใช้กำลังขยายสูง เมื่อตรวจปัสสาวะสดและไม่ปั่น หรือพบแบคทีเรียตั้งแต่ 1ตัวจากการย้อมสีแกรมการเพาะเชื้อปัสสาวะมี ความจำเป็นในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีอาการเกิน 7 วัน ผู้ป่วยที่มีประวัติเคยเป็นหลายๆ ครั้ง และผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือโรคเรื้อรังอื่น เช่น เบาหวาน โรคตับ โรคไตการตรวจปัสสาวะด้วยแถบตรวจ วิธี นี้เป็นการตรวจปัสสาวะที่สะดวกและรวดเร็ว กระทำได้ทั่วไป สามารถตรวจได้หลายอย่าง
  3. ถ้าตรวจเม็ดเลือดขาว พบว่าความไวของแถบตรวจสูงกว่าร้อยละ 80 และความจำเพาะสูงกว่าร้อยละ 95 แต่ถ้าตรวจเชื้อแบคทีเรีย พบว่าความไวของแถบตรวจไม่ดีเท่าที่ควร บางรายแพทย์อาจพิจารณาตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจภาพรังสีเอกซเรย์ หรือการส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ การรักษา
  4. พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ควรเลือกยาที่มีความไวสูงตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลความไวของเชื้อต่อยาในชุมชนของผู้ป่วย
  5. เชื้อก่อเหตุในผู้ป่วยไทยมีอัตราการดื้อยา amoxicillin และ co-trimoxazole สูง ดังนั้นยาตัวแรกที่เลือกใช้ควรเป็น norfloxacin
  6. สำหรับสตรีตั้งครรภ์และเด็ก เลือกใช้เป็นเศฟาโลสปอรินส์รุ่นที่ 3 ชนิดกิน เช่น cefdinir, cefixime, ceftibuten

ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบบ่อย หรือ มีประวัติได้รับยาปฏิชีวนะมาภายในหนึ่งเดือน ควรพิจารณาใช้ยาในกลุ่มควิโนโลนรุ่นที่ 2 ได้แก่ ofloxacin, lomefloxacin, ciprofloxacinการป้องกัน

  1. พยายามดื่มน้ำมากๆ และอย่ากลั้นปัสสาวะ ควร ฝึกการถ่ายปัสสาวะนอกบ้าน หรือระหว่างเดินทางได้ทุกที่ การกลั้นปัสสาวะทำให้เชื้อโรคอยู่ในกระเพาะปัสสาวะได้นานจนสามารถเจริญเติบ โตทำให้เกิดการอักเสบได้
  2. หลังถ่ายอุจจาระควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลังเพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อโรคเข้าสู่ท่อปัสสาวะ
  3. สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ (Honeymoon’ s cystitis) อาจป้องกันได้โดยดื่มน้ำ 1 แก้ว ก่อนร่วมเพศควรใส่ครีมหล่อลื่นช่องคลอดก่อนถ้าจำเป็น และถ่ายปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ บางครั้งอาจต้องรับประทานยาถ้ามีการติดเชื้อ
  4. ระหว่างที่มีตกขาว ควรทำความสะอาดบ่อยขึ้น อย่าให้หมักหมมถ้าจำเป็นอาจต้องพบแพทย์นรีเวช
  5. หลีกเลี่ยงอาการท้องผูกนานๆ ถ้าจำเป็นอาจต้องกินยา

กินดึกไม่อ้วน ถ้าเลือกกิน

บทความสุขภาพ
กินดึกไม่ดีใครๆ ก็รู้ แต่ถ้าความหิวไม่ปราณี แสบท้องจนนอนไม่ได้ จะทำยังไงดีล่ะ?! อะไรกินได้และอะไรกินไม่ได้ Continue reading “กินดึกไม่อ้วน ถ้าเลือกกิน”

เวียนศีรษะจนบ้านหมุน สาเหตุของอาการเหล่านี้

อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (Vertigo) หรือ อาการบ้านหมุน เป็นความรู้สึกเวียนศีรษะ ซึ่งทำให้ผู้ที่มีอาการไม่สามารถทำงานหรือเรียนหนังสือได้ตามปกติ วันนี้เราขอแนะนำข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการ แก้อาการบ้านหมุน ที่จะช่วยให้คุณอาการดีขึ้น

ความหมายของอาการบ้านหมุน
อาการบ้านหมุนเป็นภาวะหนึ่งที่มีความรู้สึกว่า โลกโดยรอบตัวของเรากำลังหมุน ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบ้านหมุน

สาเหตุอาการบ้านหมุน
ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ปัญหาเกี่ยวกับหูชั้นในทำให้เกิดอาการบ้านหมุน ซึ่งปัญหาดังกล่าว ได้แก่

หินปูนในหูชั้นในเคลื่อน
เมื่ออาการหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (Benign Paroxysmal Positional Vertigo: BPPV) เกิดขึ้น แคลเซียมจำนวนหนึ่งจะเกิดการสะสมตัว หรือมีอนุภาคหลุดเข้าไปอยู่ในช่องหูชั้นใน แล้วหูส่งสัญญาณที่ผิดไปยังสมอง ซึ่งทำให้เสียสมดุลของร่างกาย ไม่มีเหตุผลที่แน่ชัดสำหรับ BPPV อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับอายุที่มากขึ้น

น้ำในหูไม่เท่ากัน
เป็นที่เชื่อกันว่าภาวะน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s Disease) เกิดขึ้นเมื่อของเหลวสะสมตัวในหู ซึ่งส่งผลต่อความดันปกติในหู

เส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ
การติดเชื้อไวรัสเป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุดของปัญหาเส้นประสาทการทรงตัวในหูอักเสบ (Vestibular Neuritis) เมื่ออาการนี้เกิดขึ้น ทำให้เกิดการอักเสบที่ส่งผลต่อเส้นประสาทของหูชั้นใน ซึ่งทำหน้าที่ในการคงความสมดุลของร่างกาย

 

แก้อาการบ้านหมุน วิธีนี้ช่วยคุณได้

ในบางครั้ง อาการบ้านหมุนจะหายไปเอง โดยไม่ต้องมีการรักษาเฉพาะใดๆ ในทางกลับกัน ในหลายกรณี อาการบ้านหมุนจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม การรักษาขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ

การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว
ระบบประสาทการทรงตัวทำหน้าที่ส่งสัญญาณต่างๆ เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังสมอง ส่งผลดีให้สมองทราบและปรับเพื่อทำให้ทรงตัวได้ การฟื้นฟูเส้นประสาทการทรงตัว (Vestibular rehabilitation) เป็นการบำบัดประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ระบบประสาทการทรงตัวแข็งแรงมากขึ้น

การทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม
การบำบัดด้วยการทำให้หินปูนในหูชั้นในกลับเข้าที่เดิม (Canalith repositioning maneuvers) วิธีนี้ใช้เพื่อจัดการภาวะ BPPV ประกอบด้วยการเคลื่อนไหวศีรษะและร่างกาย เพื่อทำให้อนุภาคแคลเซียมออกจากช่องหูชั้นใน แล้วอนุภาคดังกล่าวมีการดูดซึมโดยร่างกาย การบำบัดด้วยวิธีนี้ต้องได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้ผลที่ปลอดภัยที่สุด และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

การใช้ยา
หากอาการบ้านหมุนเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ผู้ป่วยจะได้รับยาปฏิชีวนะ (antibiotics) หรือสเตียรอยด์ (steroids) สารเหล่านี้สามารถจัดการอาการบวมและต้านการติดเชื้อ

หากมีอาการน้ำในหูไม่เท่ากัน แพทย์อาจให้ยาขับปัสสาวะ (diuretics) แก่ผู้ป่วยเพื่อจัดการการสะสมตัวของของเหลว

การผ่าตัด
ในกรณีอื่นๆ บางประการ ผู้ป่วยอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการรู้สึกหมุน

เนื่องจากในบางครั้งอาการบ้านหมุนเกิดจากความผิดปกติประจำตัว เช่น เนื้องอกหรืออาการบาดเจ็บที่คอหรือสมอง ในกรณีนี้ การผ่าตัดเพื่อกำจัดสาเหตุดังกล่าวจึงจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้เท่านั้น